พี่ๆอินโฟต้องขอเล่าถึงที่มาของหลักสูตรก่อนว่าหลักสูตร IB Programme หรือที่ย่อมาจาก International Baccalaureate นั้นเป็นระบบการศึกษาที่มีการใช้แพร่หลายทั่วโลกถึง 150 ประเทศ (ขอย้ำว่า 150 ประเทศทั่วโลก) โดยวัตถุประสงค์หลักๆในการจัดตั้งหลักสูตรนี้ก็เพื่อให้มีระบบการศึกษาในรูปแบบใหม่ที่ได้รับการยอมรับจากมหาวิทยาลัยทั่วโลก เพื่อให้นักเรียนที่มีความจำเป็นหรือต้องการเปลี่ยนสถาบันการศึกษาบ่อยครั้งได้ศึกษาในหลักสูตรนี้ และอีกทั้งยังสามารถนำเอาคะแนนไปยื่นเข้าสอบหรือสมัครเรียนต่อในสถาบันหรือมหาวิทยาลัยต่างๆในต่างประเทศได้นั่นเอง
โดย IB Programme จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
- หลักสูตรการศึกษาระดับต้น (IB Primary Years Programme, PYP - Grade 1 to 5)
สำหรับเด็กนักเรียนอายุระหว่าง 3 ถึง 12 ปี
- หลักสูตรการศึกษาระดับกลาง (IB Middle Years Programme, MYP - Grade 6 to 10)
สำหรับนักเรียนอายุระหว่าง 11 ถึง 16 ปี
- หลักสูตรการศึกษาระดับประกาศนียบัตรนานาชาติ(IB Diploma Programme, IBDP- Grade 11 to 12)
สำหรับนักเรียนอายุระหว่าง 16 ถึง 19 ปี
ซึ่งหลักสูตร IB ทั้งสามระดับนี้ได้ถูกรวบรวมและประยุกต์จากระบบการศึกษาต่างๆทั่วโลก และยังถือว่าเป็นที่ยอมรับจากมหาวิทยาลัยและรัฐบาลทั่วโลกอีกด้วย โดยเฉพาะหลักสูตร IB ที่เรามักจะได้ยินกันบ่อยๆก็คือหลักสูตร IB Diploma Programme ในระดับที่ 3 ซึ่งเป็นหลักสูตรในระดับเดียวกันกับ A Level ถ้าแปลง่ายๆก็คือหลักสูตรที่เป็นรอยต่อระหว่าง High School กับ College/University หรือเป็นหลักสูตรการเรียนเพื่อเอาคะแนนสอบไปใช้ยื่นสมัครศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยในต่างประเทศรวมถึงมหาวิทยาลัยใน UK ด้วยนั่นเองค่ะ
โดยรายวิชาในหลักสูตร IB Diploma Programme จะมีกลุ่มวิชาทั้งหมด 6 กลุ่ม ดังนี้
นอกจากนี้นักเรียนจะต้องผ่านการเรียนอีก 3 รายวิชาคือ
-โดย Creativity เป็น กิจกรรมที่ใช้ศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างหรือประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่
- Action เป็น กิจกรรมการเล่นกีฬาหรือการลงมือลงแรงสร้างขึ้นมาด้วยตนเอง
- Service เป็น การมีที่นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม
โดยทั้ง 6 วิชานี้ อยู่ภายใต้ คุณลักษณะสำคัญ 3 ข้อ ที่นักเรียนระดับประกาศนียบัตรนานาชาติต้องเรียนรู้ ได้แก่ การศึกษาที่มาของความรู้และการปรับใช้ทฤษฎีต่าง ๆ การเขียนเรียงความหัวข้อที่ตนเองสนใจและลงมือศึกษา และการเข้าร่วมทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น
IB ต่างจากระบบอื่นอย่างไร
นอกจากคุณลักษณะสำคัญ 3 ข้อและวิชาทั้ง 6 วิชาข้างต้นแล้ว ระบบ IB ยังเป็นระบบที่แตกต่างจากระบบการเรียนทั่วไป ดังนี้
- กระตุ้นให้นักเรียนในทุกช่วงวัยคิดเชิงวิพากษ์
- ประยุกต์ใช้ข้อมูลวิจัยและโรงเรียนในเครือข่ายทั่วโลก
- สนับสนุนให้นักเรียนในทุกช่วงวัยศึกษาบริบททางสังคมทั้งในชุมชนและของโลก
- พัฒนาให้นักเรียนพูดได้หลายภาษา
ข้อดีของระบบ IB ที่มีต่อนักเรียนรุ่นใหม่
ในสังคมที่เด็กรุ่นใหม่ต้องเปลี่ยนบทบาทหน้าที่จากผู้บริโภคเป็นผู้คิดริเริ่มสร้างสรรค์ การเรียนระบบ IB จึงสอดคล้องอย่างมากกับการสร้างผู้ริเริ่มนวัตกรรมที่เข้าใจปัญหา มองเห็นทางแก้ปัญหา รู้จักวางแผน และลงมือทำจริง
= ได้รับการสนับสนุนให้คิดนอกกรอบและผลักดันการเรียนรู้ของตนเอง
= ได้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการศึกษาที่สามารถพาพวกเขาสู่มหาวิทยาลัยแนวหน้าของโลกได้
= ตื่นตัวทางวัฒนธรรมมากขึ้นผ่านการเรียนภาษาที่สอง
= รู้จักมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นท่ามกลางโลกที่กำลังพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
IB เป็นหนึ่งในหลักสูตรหลักในการสอนและรับนักเรียนเข้ามาศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ด้วยเนื้อหาที่มุ่งหวังให้นักเรียนพัฒนาตนเองผ่านความสนใจส่วนตัว ฝึกคิดเชิงวิพากษ์ ควบคู่ไปกับการศึกษาวัฒนธรรมอื่น ๆ ผ่านการเรียนภาษานั้น ๆ นักเรียนที่ผ่านการเรียนการสอนระบบ IB จึงมีทักษะที่จะเป็นผู้ริเริ่มที่คำนึงถึงความแตกต่างของวัฒนธรรมในอนาคตได้อย่างดี
ผู้สมัครจะต้องได้รับประกาศนียบัตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียน (High School Diploma) และ/หรือ
ได้รับ IB Diploma และ/หรือ IB DP Course Results ดังนี้
1) ผู้สมัครที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ จะต้องได้รับ IB Diploma กล่าวคือเป็นผู้มีผลคะแนนรวมจาก 5
หมวดวิชา และอีก 1 วิชาเลือก ไม่ต่ำกว่า 24 คะแนน พร้อมกับผ่านการประเมิน Extended Essay (EE), Theory of Knowledge (TOK) และ Creativity, Action & Service (CAS) ตามเกณฑ์ของ International Baccalaureate Organisation (IBO) ทั้งนี้ สถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาให้ยกเว้นการเรียนบางวิชาในปี 1 ที่ผู้สมัครเรียนผ่านมาแล้วตามหลักสูตร IB Diploma ในระดับ Higher level ที่ได้คะแนนสูงกว่า 4-5 ขึ้นไป เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา
หรือ
2) ได้รับ IB Diploma Course Results (IBCR) อย่างน้อย 5 วิชา โดยแต่ละวิชาจะต้องไม่ซ้ ากัน และได้ผลการ
เรียนในแต่ละวิชา ไม่น้อยกว่าเกรด 2 (เทียบเท่ากับ 60 เปอร์เซนต์ หรือ GPA รายวิชา 2 ขึ้นไป) ทั้งนี้ สถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาลดจำนวนวิชาเพื่อรับผู้สำเร็จการศึกษาให้เหลืออย่างน้อย 3-4 วิชา ที่ตรงกับสายวิชาที่ผู้สมัครจะสมัครเข้ารับการศึกษาเช่นเดียวกับในต่างประเทศ
คือ หลักสูตร International General Certificate of Secondary Educational (IGCSE) ถูกจัดทำขึ้นมาให้สำหรับเด็กนักเรียน ที่มีอายุระหว่าง 14 – 16 ปี เพื่อให้ได้รับวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับศึกษาในระดับที่สูงขึ้น อาทิเช่น นำไปใช้ศึกษาต่อในหลักสูตร AS, A Level, International Baccalaureate (IB) หรือเพื่อศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย สำหรับประเทศไทยเมื่อก่อนการสอบผ่านหลักสูตร IGCSE และ GCE O Level ผู้สอบสามารถนำผลที่สอบได้ใน 5 รายวิชาที่ได้ไม่ต่ำกว่า C ไปขอเทียบวุฒิการศึกษาและนำเอกสารการเทียบวุฒิยื่นสมัครศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยได้
หมายเหตุ: ในปัจจุบันการเทียบวุฒิของหลักสูตร IGCSE ได้มีกฏเกณฑ์ในการเทียบเยอะขึ้น ดังนี้
สำหรับผู้สมัครที่สอบ IGCSE, GCSE หรือ GCE ‘O’ Level ภายในปี พ.ศ. 2560 และสอบได้ผลการสอบตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์การเทียบวุฒิการศึกษาจากหลักสูตรประเทศอังกฤษ (เพิ่มเติมครั้งที่ 1) ที่ได้ประกาศ ณ วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 (เอกสารแนบ 3) ให้ผู้สมัครเหล่านี้ มีสิทธิ์ในการสมัครสอบ TCAS 2562 และสถาบันอุดมศึกษาที่รับผู้สมัครเหล่านี้จะเป็นผู้พิจารณาเสริมองค์ความรู้ให้เทียบเท่ามัธยมศึกษาปีที่ 6
TCAS หรือ Thai University Central Admission System เป็นระบบที่ใช้คัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาล่าสุด
ซึ่ง TCAS จัดได้ว่าเป็นเหมือนข้อสอบกลางที่ทางวิทยาลัยและมหาวิทลัยในประเทศไทยได้จัดขึ้นมาเพื่อให้เด็กที่มีวุฒิการศึกษาต่างๆ ได้เข้ามาสอบเพื่อทำการศึกษาต่อไปในระดับชั้นวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยนั่นเอง
โดยผู้ที่สอบได้จำเป็นต้องมีผลสอบตามนี้ IGCSE และ GCE O Level ผู้สอบต้องมีผลคะแนนสอบสอบได้ใน 5 รายวิชา (ไม่ซ้ำกัน) ที่ได้ไม่ต่ำกว่า C (A* - C)
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ - http://www.mytcas.com/
หลักสูตร IGCSE เป็นหลักสูตรที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ ในปัจจุบันมีผู้ศึกษาในหลักสูตรดังกล่าวกว่า 300,000 คนต่อปีจากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก หลักสูตร IGCSE เป็นหลักสูตรที่มีวิชาต่างๆให้ผู้ศึกษาสามารถเลือกเรียนได้โดยหลักสูตร IGCSE นั้นเป็นการเรียนการสอบที่บูรณาการระหว่างความรู้ในแต่ละรายวิชาไปพร้อมกับการฝึกปฎิบัติจากประสบการณ์จริง ซึ่งในการสอบบางวิชา ผู้สอบสามารถเลือกทำข้อสอบวัดความรู้ในเนื้อหาวิชาแบบ Core (พื้นฐาน) หรือแบบ Extended (ขั้นสูง) เพื่อให้สอดคล้องกับความรู้ของผู้สอบที่มีความแตกต่างกัน โดยผู้สอบที่เลือกสอบแบบ Core จะได้เกรด C, D, E, E หรือ G เท่านั้น ในขณะที่ผู้สอบที่เลือกสอบแบบ Extended จะได้เกรดตั้งแต่ A, B, C, D, E, F หรือ G
การสอบ IGCSE นั้นจะถูกจัดขึ้นโดยโรงเรียนนานาชาติที่ใช้ระบบการเรียนการสอนแบบอังกฤษ ส่วนผู้ที่สนใจแต่ไม่ได้เป็นนักเรียนของโรงเรียนนานาชาติข้างต้น สามารถสอบได้โดยสมัครสอบกับ British CouncilThailand ซึ่งใช้แบบทดสอบของ University of Cambridge International Examination (CIE) ในการสอบ
รายวิชาในหลักสูตร
หลักสูตร IGCSE มีรายวิชาให้เลือกสอบจาก 5 กลุ่มวิชาอันประกอบไปด้วย
1. กลุ่มวิชาภาษา (Language)
2. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Humanities & Social Science)
3. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ (Science)
4. กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ (Mathematics)
5. กลุ่มวิชาทักษะวิชาชีพ (Creative, Technical and Vocational)
โดยสามารถแบ่งกลุ่มวิชาได้ตามรายวิชาด้านล่างนี้โดยมีจุดประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมในการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยนั่นเอง
ช่วงเวลาการสอบนั้นจะจัดขึ้น 2 รอบใน 1 ปีนั่นก็คือ
1) ในช่วงเดือน พฤษภาคม ถึง มิถุนายน
2) ในช่วงเดือน ตุลาคม ถึง พฤศจิกายน
ทั้งนี้สามารถดูตาราง timeline การสมัครสอบ การสอบ และการประกาศผลสอบได้ตามนี้
- ช่วงการสอบ รอบแรก (พ.ค.-มิ.ย.)
ช่วงสมัครสอบรอบปกติ: ต้นเดือน ธ.ค.-ต้นเดือน ก.พ
ช่วงสมัครสอบล่าช้า : ภายในเดือน ก.พ.
คะแนนออก : กันยายนในปีที่สอบ
รับ certificate : พฤศจิยายนในปีที่สอบ
ช่วงการสอบ รอบสอง (ต.ค-พ.ย)
ช่วงสมัครสอบรอบปกติ: ต้นเดือนก.ค-ต้นเดือน ส.ค
ช่วงสมัครสอบล่าช้า : ต้นเดือน ส.ค- ต้นเดือน ก.ย
คะแนนออก : กุมพาพันธ์ปีถัดไป
รับ certificate : พฤษภาคมปีถัดไป
สามารถติดต่อได้ที่: หน่วยงานจัดสอบหลักสูตร IGCSE ในประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบในการรับสมัครและจัดสอบหลักสูตร IGCSE ในประเทศไทยคือ บริติช เคาน์ซิล (ซอยจุฬาฯ 64 สยามสแควร์ กทม. โทรศัพท์ 02 652 5480-9)
ผู้สมัครมีผลการสอบระดับ IGCSE หรือ GCSE หรือ GCE ‘O’ Level จำนวน 5 วิชา ได้คะแนนแต่ละรายวิชา
A*-C และต้องมีผลสอบเพิ่มเติมดังนี้
1) AS จำนวนอย่างน้อย 5 วิชา เกรด A-E หรือ
2) GCE ‘A’ Level จำนวนอย่างน้อย 3 วิชา เกรด A*-E
หมายเหตุ
ก. สำหรับผู้สมัครที่สอบ IGCSE, GCSE หรือ GCE ‘O’ Level ภายในปี พ.ศ. 2559 และสอบได้ผลการสอบ
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์การเทียบวุฒิการศึกษาจากหลักสูตรประเทศอังกฤษ
(เพิ่มเติม) ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 (เอกสารแนบ 2) ให้ผู้สมัครเหล่านี้ได้รับการเทียบ
วุฒิการศึกษาสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6
ข. สำหรับผู้สมัครที่สอบ IGCSE, GCSE หรือ GCE ‘O’ Level ภายในปี พ.ศ. 2560 และสอบได้ผลการสอบ
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์การเทียบวุฒิการศึกษาจากหลักสูตรประเทศอังกฤษ
(เพิ่มเติมครั้งที่ 1) ประกาศ ณ วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 (เอกสารแนบ 3) ให้ผู้สมัครเหล่านี้ มีสิทธิ์
ในการสมัครสอบ TCAS 2562 และสถาบันอุดมศึกษาที่รับผู้สมัครเหล่านี้จะเป็นผู้พิจารณาเสริมองค์ความรู้
ให้เทียบเท่ามัธยมศึกษาปีที่ 6