(+66) 065-446-9782

  • HOME
  • INDIA
    • INDIA HIGH SCHOOL
    • IND University - ADYPU
    • Bridge Programe - ADYPU
    • INDIA VISA
  • NEW ZEALAND
    • HIGH SCHOOL
    • UNIVERSITY
    • ENGLISH LANGUAGE
    • New Zealand visa
  • Other programmes
    • SUMMER CAMP
  • About INFO
    • ABOUT US
    • EDUCATIONAL SYSTEM
    • QUESTION AND ANSWER
    • CONTACT US
  • เพิ่มเติม
    • HOME
    • INDIA
      • INDIA HIGH SCHOOL
      • IND University - ADYPU
      • Bridge Programe - ADYPU
      • INDIA VISA
    • NEW ZEALAND
      • HIGH SCHOOL
      • UNIVERSITY
      • ENGLISH LANGUAGE
      • New Zealand visa
    • Other programmes
      • SUMMER CAMP
    • About INFO
      • ABOUT US
      • EDUCATIONAL SYSTEM
      • QUESTION AND ANSWER
      • CONTACT US

(+66) 065-446-9782


  • HOME
  • INDIA
    • INDIA HIGH SCHOOL
    • IND University - ADYPU
    • Bridge Programe - ADYPU
    • INDIA VISA
  • NEW ZEALAND
    • HIGH SCHOOL
    • UNIVERSITY
    • ENGLISH LANGUAGE
    • New Zealand visa
  • Other programmes
    • SUMMER CAMP
  • About INFO
    • ABOUT US
    • EDUCATIONAL SYSTEM
    • QUESTION AND ANSWER
    • CONTACT US

หลักสูตรการเรียนการสอน

EDUCATIONAL SYSTEM IN INDIA

EDUCATIONAL SYSTEM IN NEW ZEALAND

EDUCATIONAL SYSTEM IN NEW ZEALAND

IB, IGCSE, ICSE, ISC, CBSE

อ่านเพิ่มเติม

EDUCATIONAL SYSTEM IN NEW ZEALAND

EDUCATIONAL SYSTEM IN NEW ZEALAND

EDUCATIONAL SYSTEM IN NEW ZEALAND

NCEA, IB, IGCSE

อ่านเพิ่มเติม

Educational System in India

              ในวันที่เรามีโอกาสที่อยากจะศึกษาการไปเรียนต่างประเทศ เรื่องของหลักสูตรจึงเป็นหัวข้อสำคัญในการเลือกเรียนหลักสูตรที่เหมาะสมกับตัวลูกๆองท่าน ดังนั้นการเข้าใจในหลักสูตรจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ทางพี่ๆอินโฟจึงอยากจะให้ความรู้ถึงความแตกต่างและความเหมาะสมของแต่ละหลักสูตร

              หลักสูตรที่นำมาเสนอนี้เป็นหลักสูตรที่พี่อินโฟได้คิดว่าคนไทยเราให้ความนิยมให้และความสนใจเป็นอย่างมาก โดยทางพี่อินโฟอยากจะมานำเสนอให้น้องๆและผู้ปกครองได้ทำเข้าใจไปด้วยกัน

              แต่ก่อนอื่นพี่อินโฟอยากจะพูดถึงหลักสูตรที่มีในประเทศอินเดียก่อน ในประเทศอินเดียนี้มีหลักสูตรมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ICSE, CBSE, IGCSE, หรือ IB และอื่นๆอีกมากมาย โดยส่วนมากหลักสูตรที่เป็นที่รู้จักมีประมาณอยู่ 4 หลักสูตรนี้ ซึ่งในแต่ละหลักสูตรเหล่านี้จะมีความโดดเด่นและคุณภาพที่แตกต่างกันออกไป โดยจากประสบการณ์ที่พี่อินโฟได้ศึกษาและทำการพูดคุยกับผู้ปกครองหลายต่อหลายท่าน มักจะมีเพียงน้อยท่านเท่านั้นที่เข้าใจในหลักสูตรก่อนที่จะส่งลูกๆของท่านไปเรียน อย่างไรก็ตามการที่ไม่เข้าใจในหลักสูตรนั้นอาจจะทำให้เกิดปัญหาในระยะยาวของการเรียนในตัวลูกๆนั้นก็ว่าได้ และอาจทำให้เกิดคำถามหรือความกดดันที่ว่าทำไมลูกๆของท่านนั้นไม่สามารถเรียนหรือทำคะแนนในข้อสอบปลายภาคได้ดี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นถ้าท่านได้อ่านต่อไปเรื่อยๆท่านก็อาจจะสามารถเข้าใจถึงปัญหาต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้


แต่ก่อนอื่นเลยเรามาทำความรู้จักกับ ICSE และ CBSE กันดีกว่า

              1. Council for the Indian School Certificate Examinations (CISCE)  หรือ สภาวัดผลการศึกษาในโรงเรียนอินเดีย เป็นคณะกรรมการเอกชน โรงเรียนในระบบ CISCE มีมาตรฐานการวัดผลการศึกษา 2 ระดับ คือ Indian Certificate of Secondary Education (ICSE) for class 10 และ Indian School Certificate (ISC) for class 12 กล่าวง่าย ๆ ก็คือ จะมีการสอบวัดผลตอนมัธยมศึกษาปีที่ 4 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 

               

  • ICSE:  การสอบวัดผลในระดับเกรด 10 (เทียบเท่ามัธยมศึกษาที่ 4) สภาวัดผลการศึกษาโรงเรียนในอินเดียเป็นผู้ดูแลการสอบและกำหนดหลักสูตรการเรียนการสอนเอาไว้ทั้งหมด ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารในชั้นเรียนจะเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น หลักสูตรของ ICSE จะเริ่มตั้งแต่เกรด 5 (เทียบเท่าประถมศึกษาปีที่ 5) เพื่อเป็นการปูพื้นฐานสำหรับการสอบบอร์ดตอนเกรด 10 (การสอบบอร์ดหมายถึงการสอบประจำปีพร้อมกันทั้งประเทศ)


*** จุดเด่นสำคัญของหลักสูตรนี้ คือ นักเรียนสามารถเลือกสายวิชาได้ตั้งแต่เกรด 9 (เทียบเท่ามัธยมศึกษาปีที่ 3) ว่าจะเรียน      สายวิทย์ หรือ สายศิลป์ การเลือกสายวิชาตั้งแต่เด็ก ทำให้สามารถลดจำนวนวิชาที่ต้องเรียน ทำให้ทุ่มเทให้กับวิชาที่เกี่ยวข้องได้อย่างเต็มที่

 

  • ISC:  การสอบวัดผลในระดับเกรด 11 และ 12 นักเรียนจะต้องสอบบอร์ดช่วงเกรด 12 ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะเป็นคะแนนที่มหาวิทยาลัยในอินเดียจะใช้พิจารณารับนักเรียนเข้าศึกษาต่อไป


*** จุดเด่นสำคัญของหลักสูตรนี้ คือให้ความสำคัญกับทุกวิชาเท่า ๆกัน โดยเน้นภาษาอังกฤษเป็นหลัก นักเรียนที่จบหลักสูตรนี้มักจะใช้ภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการจะศึกษาต่อต่างประเทศในระดับอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย ซึ่งหากนักเรียนได้เคยเรียนหลักสูตรนี้พี่อินโฟเชื่อว่าการสอบ TOEFL และ IELTS ก็คงไม่ยากอีกต่อไป หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับการศึกษาต่อในสาขาศิลป์และด้านบริหาร

 

              2. Central Board of Secondary Education (CBSE) หรือ คณะกรรมการกลางมัธยมศึกษาในอินเดีย ดูแลหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนในอินเดีย 


  • CBSE: มีการสอบบอร์ดในระดับเกรด 10 และ 12 เช่นเดียวกัน ได้แก่ The All India Secondary School Examination for Class 10 และ The All India Senior School Certificate Examination for Class 12 หลังจากการสอบบอร์ดเกรด 10 แล้วนักเรียนจะต้องเลือกสาขาวิชาเรียน สายวิทย์หรือสายศิลป์ ซึ่งต่างจากระบบ CISCE ที่สามารถเลือกสายได้ตั้งแต่เกรด 9

*** จุดเด่น หลักสูตร CBSE จะเน้นด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นหลัก หลักสูตรจะมุ่งสร้างความเข้มข้นทางวิชาการให้นักเรียนสามารถเข้าสอบแข่งขันนระดับต่างๆ ได้ CBSE จึงเหมาะสมกับนักเรียนที่ต้องการจะศึกษาต่อในด้านแพทย์ วิศวะ และด้านที่เน้นการใช้ความรู้สายวิทยาศาสตร์เป็นหลัก


จากประสบการณ์ที่ทางพี่ๆอินโฟได้รู้จักในบัลดาลหลักสูตรทั้งหลายนั้น ทุกคนมักจะพูดว่า หลักสูตร ICSE เนียเป็นหลักสูตรที่ยากที่สุดที่มีในประเทศอินเดีย ถ้าใครได้ผ่านการเรียนหลักสูตรนี้มาได้ ต้องเป็นนักเรียนที่เก่งสุดๆ


แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นถึงแม้หลักสูตรอินเดียนั้นจะมีคุณภาพที่ดีและมีกลุ่มผู้ปกครองได้ให้ความสนใจ แต่ในทางกลับกันทางพี่อินโฟกลับมองว่าหลักสูตร IB นั้นเหมาะและสามารถตอบโจทย์เด็กนักเรียนไทยได้ดีกว่าและมากกว่า อีกทั้งยังสามารถให้มาตรฐานที่สูงไม่ต่างกัน 

สำหรับน้องๆ หรือผู้ปกครองท่านใดที่สนใจในหลักสูตร IB หรือ IGCSE สามารถศึกษาเพิ่มเติมโดยคลิกที่รูปด้านล่างนี้ได้เลย

International Baccalaureate Curriculum (IB)

Find out more

International General Certificate of Secondary Education (IGCSE)

find out more

Educational System in New Zealand

NCEA- National Certificate Education Achievement autorized by NZQA

              ต่อมาเรามาทำความรู้จักกับหลักสูตรที่ใช้วัดมาตรฐานการเรียนการสอนในประเทศนิวซีแลนด์กัน โดยหลักสูตรการเรียนของประเทศนิวซีแลนด์มีชื่อเรียกว่า NCEA - National Certificate Education Achievement เป็นหลักสูตรที่ได้รับอนุญาตจาก NZQA - New Zealand Qualifications Authority ซึ่งเป็นองค์กรภายใต้รัฐบาลนิวซีแลนด์และได้ทำการควบคุมหลักสูตรการเรียนการสอน ซึ่งองกรค์แห่งนี้ได้ก่อตั้งขึ้นมาในปี ค.ศ. 1989 และได้พัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันจนทำให้หลักสูตร NCEA มีความแข็งแกร่ง มาตรฐาน อีกทั้งยังเป็นที่ยอมรับจากผู้คนทั้งในประเทศและต่างประเทศ

              หลักสูตร NCEA นี้ถือได้ว่าเป็นหลักสูตรเฉพาะในประเทศนิวซีแลนด์เท่านั้น โดยหลักสูตรนี้มีไว้สำหรับเด็กนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมปลาย Year 11 12 และ 13 (หรือเทียบเท่ากับเด็กนักเรียนที่มีอายุ15-18 ปี) โดยแบ่งเป็น NCEA Level 1 2 และ 3 ตามลำดับ

              สำหรับหลักสูตร NCEA ยังเป็นอีกหนึ่งความสำคัญที่เด็กนักเรียนทุกคนควรได้รับการเรียนรู้ เพราะ NCEA ได้มีการยอมรับจากบุคคลหลายๆภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นการเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย อุดมศึกษา วิชาชีพ หรือแม้แต่การสมัครงาน Part time ต่างๆ ในประเทศนิวซีแลนด์ หลักสูตร NCEA จึงมีความสำคัญอย่างมากในประเทศนิวซีแลนด์

              การเรียนหลักสูตร NCEA จะเป็นการเก็บคะแนนที่เรียกว่า เครดิต และนักเรียนต้องเก็บเครดิตให้ได้ตามเป้าหมายของหลักสูตรที่ได้ระบุไว้ ซึ่งเครดิตจะได้จากการสอบและการส่งงานตามมาตรฐานของแต่ละรายวิชาที่ได้ถูกมอบหมายให้ในแต่ละเทอม หรือจะเป็นการสอบในแต่ละเทอม

              - Standards (สแตนดาร์ด):  เป็นคำที่ใช้เพื่อวัดผลคะแนนที่ได้รับความยอมรับหรือมาตรฐานในชิ้นงานผลงาน หรือการสอบของเด็กนักเรียนทุกคนที่ได้ทำส่งในรายวิชานั้นๆ


การเข้าหลักสูตร NCEA

            การเข้าหลักสูตรหรือการเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร NCEA นั้น เด็กนักเรียนทุกคนจะได้รับการทดสอบจากทางโรงเรียนเพื่อดูว่าน้องๆ มีความสามารถเพียงพอที่จะสามารถเก็บเครดิตได้ตามเป้าหมายในแต่ละปีไหม เพราะเดิมทีด้วยโรงเรียนที่เปิดรับนักเรียนตลอดปีการศึกษาทำให้ในบางครั้งนักเรียนที่เข้าไปในเทอมที่ 3 หรือ 4 ไม่มีเวลาเพียงพอที่จะเก็บเครดิตและด้วยพื้นฐานภาษาที่ยังต้องมีการฝึกฝนเพิ่มเติม ทำให้ยังไม่สามารถสมัครเข้าหลักสูตรได้โดยทันที แต่อย่างไรก็ตามเมื่อถึงเวลาที่น้องสามารถปรับตัวและพัฒนาได้มากขึ้น คุณครูจะพิจรณาและทำการแจ้งให้ผู้ปกครองทราบถึงเรื่องสมัครเข้าเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรและโรงเรียนจะช่วยวางแผนการเก็บเครดิตในแต่ละปีโดย School Counselor

           แต่ก่อนที่นักเรียนจะเก็บคะแนนเครดิตในหลักสูตร นักเรียนจะเห็นได้ว่านิวซีแลนด์มีวิชาให้เราเลือกเรียนอย่างมากมายจนบางทีก็เลือกไม่ถูกเลยทีเดียว ซึ่งการเลือกวิชาในแต่ละชั้นปีนั้นจะมีความเข้มข้นของเนื้อหาที่ไม่เท่ากัน อย่างใน Year 11 ตัวเนื้อหาของทางหลักสูตรจะเป็นเนื้อหาที่กว้างๆไม่ค่อยมีความซับซ้อน เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้สามารถค้นหาตัวเองในช่วงปีนี้ และต่อมาใน Year 12 และ 13 จะเป็นปีที่มีเนื้อหาเข้นข้นและเฉพาะทางมากขึ้น จึงทำให้เราต้องเริ่มคิดแล้วว่าเราเองอยากทำอาชีพอะไรในอนาคต อยากเข้าคณะวิชาสาขาไหนในอนาคต หรืออยากเข้าศึกษาต่อที่ไหน ด้วยเหตุผลเหล่านี้ตัวนักเรียนเองจึงจะสามารถเลือกลงวิชาและทำตามเป้าหมายที่ได้วางแผนไว้ในตอนต้น

          หลังจากที่สามารถตัดสินใจในการเลือกวิชาแล้ว นักเรียนจำเป็นที่จะต้องรายงานตัวกับคุณครูเกี่ยวกับ อาชีพที่อยากทำและรายวิชาที่อยากเรียน เมื่อคุณครูได้ทราบถึงความจำนงของนักเรียน คุณครูจะช่วยนักเรียนวางแผนการลงวิชาและการเรียนเพื่อให้มีความสอดคล้องต่อเป้าหมายในอนาคต

          และด้วยสิ่งนี้ที่เรียกว่า Careers Advisor เป็นที่ปรึกษาหรอืผู้ชี้แนะแนวทางการต่อยอด ซึ่งคุณครูในตำแหน่งนี้จะช่วยวางแผนอนาคตของเด็กนักเรียน และนี่จึงเป็นตำแหน่งสำคัญที่ทำให้การเรียนการสอนของประเทศนิวซีแลนด์ติดอันดับ 1 ของโลกในปัจจุบัน

เรียนรู้เพิ่มเติม

การเทียบหลักสูตร NCEA กับ ม.6 ประเทศไทย

ระบบนิวซีแลนด์


1. ผู้สมัครที่สอบผ่านวิชา New Zealand National Certificate of Educational Achievement (NCEA)
ซึ่งอยู่ในความดูแลของ New Zealand Qualifications Authority (NZQA) จำนวนไม่น้อยว่า 80 หน่วยกิต
ประกอบด้วย
- วิชาใน level 2 หรือสูงกว่าจำนวนไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต และ
- วิชาใน level 1 หรือสูงกว่าจำนวนไม่น้อยกว่า 20 หน่วยกิต  
การพิจารณาให้นับวิชา English for Speaker of other Languages (ESOL) เป็นอีก 1 วิชาได้ด้วย
ผู้จบการศึกษาจะต้องได้รับประกาศนียบัตร NCEA level 2 ใบแสดงผลการสอบ (Record of Achievement)
หนังสือรับรองระดับ จำนวนวิชา และจำนวนหน่วยกิตของแต่ละวิชา จาก New Zealand Qualifications Authority (NZQA) ทั้งนี้ การพิจารณาตามเกณฑ์ข้อที่ 1 ให้มีผลสำหรับผู้จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของประเทศนิวซีแลนด์ตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 เป็นต้นไป 


                                                                             หรือ


2. ผู้สมัครที่สอบผ่านวิชา New Zealand National Certificate of Educational Achievement (NCEA) ซึ่งอยู่
ในความดูแลของ New Zealand Qualification Authority (NZQA) ใน level 2 หรือสูงกว่า อย่างน้อย 5 วิชา ไม่ซ้ากันนับจำนวนรวมไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต ประกอบด้วยวิชาบังคับ 2 วิชา ได้แก่
- English (literacy) ใน level 2 หรือสูงกว่า อย่างน้อย 4 หน่วยกิต
- Mathematics (numeracy) ใน level 2 หรือสูงกว่า อย่างน้อย 4 หน่วยกิต
การพิจารณาไม่นับรวมวิชา English for Speakers of other Languages (ESOL)
ผู้จบการศึกษาจะต้องได้รับใบแสดงผลการสอบ (Record of Achievement) และหนังสือรับรองระดับ
จำนวนวิชา และจำนวนหน่วยกิตของแต่ละวิชาจาก New Zealand Qualifications Authority (NZQA)
ทั้งนี้ การพิจารณาตามเกณฑ์ข้อที่ 2 ให้มีผลสำหรับผู้จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของ
ประเทศนิวซีแลนด์ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป